บทที่2เว็บสร้างสีสันให้อินเตอร์เน็ต

 บทที่ 2
เว็บสร้างสีสันให้อินเทอร์เน็ต



 
วัตถุประสงค์
1.บอกความหมายของเว็บได้
2.บอกหลักการทำงานของเว็บได้
     2.1 ความหมายของเว็บ
        เว็บเว็บเป็นบริการในอินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเมื่อมีบริการข้อมูลข่าวสารทางอินเทอร์เน็ตในรูปของเว็บทำให้อินเทอร์เน็ตเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปเพิ่มมากขึ้นจนกระทั่งเมื่อกล่าวถึงอินเทอร์เน็ตผู้คนทั่วไปเข้าใจว่าเว็บนั้นคืออินเทอร์เน็ตหรืออินเตอร์เน็ตคือเว็บซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้วอินเทอร์เน็ตคือเครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในขณะที่เว็บคือข้อมูลข่าวสารในรูปเอกสารไฮเปอร์เท็กซ์ กล่าวคือเป็นเอกสารที่มีส่วนของคำหรือข้อความที่เมื่อคลิกแล้วจะเชื่อมโยง ไปยังส่วนอื่นของเอกสารเดียวกันหรือต่างเอกสารกันหรือเชื่อมโยงไปยังข้อมูลมัลติมีเดียส่วนที่คลิกแล้วเชื่อมโยงไปยังส่วนอื่นเรียกว่าไฮเปอร์ลิงก์และถ้าการเชื่อมโยงนี้เป็นการเชื่อมโยงที่มีข้อมูลมัลติมีเดียก็จะเรียกโดยสารไฮเปอร์เท็กซ์ว่าเอกสารไฮเปอร์มีเดียไฮเปอร์มีเดียซึ่งประกอบด้วยไฮเปอร์เท็กซ์และมัลติมีเดีย


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ภาพที่ 2.1 แสดงการเชื่อมโยงข้อมูลในลักษณะไฮเปอร์มีเดีย


       เว็บเป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อ เชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆโดยใช้โปรโตคอลหรือข้อตกลงของมาตรฐานเครือข่ายเป็น HTTP (Hypertext Transfer Protocol) ในการเรียกใช้เอกสารไฮเปอร์เท็กซ์และไฮเปอร์มีเดียด้วยโปรแกรมประเภท Web Browser ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับอ่านเอกสารดังกล่าวนี้
      ไฮเปอร์ลิงค์ในเว็บเป็นตัวเชื่อมที่มีอิสระแก่ผู้ใช้ในการเรียกการเชื่อมต่อไปยังส่วนที่ต้องการการใช้ข้อมูลในเว็บจึงแตกต่างจากการค้นหาข้อมูลที่นิยมในแบบเดิมคือ gopher ซึ่งมีลักษณะการค้นหาข้อมูลเป็นเชิงเส้นตรงในขณะที่เว็บแตกกิ่งสาขาไปในทิศทางต่างๆนอกจากนี้เว็บยังใช้กับโปรโตคอลต่างๆของอินเทอร์เน็ตได้ เช่น Gopher  FTP เป็นต้น เป็นต้น
      ข้อมูลและสารสนเทศในอินเทอร์เน็ตมีการพัฒนาให้อยู่ในรูปของมัลติมีเดียบนเว็บที่ผสมผสานข้อความภาพกราฟฟิกเสียงวีดีทัศน์และภาพเคลื่อนไหวเข้าด้วยกันทำให้เว็บเป็นแหล่งสารสนเทศที่เหมาะต่อการเรียนรู้ข้อมูลที่หลากหลายและอย่างมีสีสัน

       2.2 ความเป็นมาของเว็บ
       ในช่วงเวลาเพียง 4-5 ปีเว็บได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็วและก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้งด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศทุกรูปแบบโดยเฉพาะในด้านมัลติมีเดียซึ่งเป็นข้อมูลข่าวสารที่สามารถกระตุ้นการรับรู้และสร้างความน่าสนใจให้แก่ผู้รับการพัฒนาโปรแกรมค้นหาข้อมูลในเว็บและการพัฒนาเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารผ่านเว็บช่วยให้เว็บกลายเป็นแหล่งความรู้และการเรียนรู้ด้วยตนเองสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น
       เว็บเป็นเพียงบริการหนึ่งในหลายๆบริการของอินเทอร์เน็ตเป็นบริการที่เกิดหลังจากบริการอย่างอื่นๆซึ่งได้แก่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์การสนทนาผ่านทางเครือข่ายการอภิปรายผ่านกระดานข่าวการอ่านข่าวการค้นหาข้อมูลและการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลเป็นต้น
       ผู้ประดิษฐ์คิดค้นเว็บ คือ Tim Berners-Lee แห่งCERN เมื่อปีคริสตศักราช 1989 เพื่อช่วยให้การใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องง่ายขึ้นเนื่องจากเป้าหมายของ CERN ต้องการพัฒนาให้การสื่อสารติดต่อถึงกันระหว่างนักฟิสิกส์ที่อยู่จากมหาวิทยาลัยและต่างสถาบันในหลายประเทศที่เป็นสมาชิกให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล การพัฒนาดำเนินมาเป็นเวลานานหลายปีโดยในยุคแรกของเว็บนี้ Tim Berners-Lee ได้เป็นผู้นำเสนอ URL (Uniform Resource Locator) ซึ่งเป็นวิธีการชี้บอกแหล่งที่อยู่ของเอกสารเพื่อใช้เป็นสากลการกำหนดโปรโตคอล http สำหรับการส่งเอกสารไฮเปอร์เท็กซ์และภาษา html สำหรับการสร้างเอกสารไฮเปอร์เท็กซ์


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Tim Berners-Lee

ภาพที่ 2.2 Tim Berners-Lee ผู้ประดิษฐ์คิดค้นเว็บเมื่อปี ค.ศ.1989

       เว็บได้มีการพัฒนาเป็นลำดับจนเข้าสู่เว็บยุคที่ 2 เมื่อ Marc Andersen นักเขียนโปรแกรมทำงานอยู่ที่ (National Center for Supercomputing Applications) ในเมือง Urbana-Champaign ของรัฐอิลลินอยส์ประเทศสหรัฐอเมริกาได้สร้างโปรแกรมท่องเว็บ (Web Browser) ชื่อ MOSAIC ขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1993 ทำให้คนนับล้านคนรู้จักเว็บกันมากขึ้นและให้การยอมรับว่ามันเป็นสิ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
      เว็็บยุคที่ 3 เริ่มเมื่อ Andressen ออกจาก NCSA เพื่อก่อตั้งและสร้างโปรแกรม web browser ชื่อ Netscape และในเวลาต่อมาไม่นานบริษัท Microsoft ก็ได้ พัฒนา โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ชื่อ internet explorer ขึ้น ซึ่งเป็นโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ที่เป็นที่นิยมกันโดยทั่วไปในปัจจุบัน
     เว็บจึงมีการพัฒนาขึ้นด้วยการผสมผสานการสร้างสรรค์โปรโตคอลของเว็บโดย Tim Berner-Lee ซึ่งทำให้เกิดการเชื่อมโยง ขึ้นและด้วยโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ของ Marc Andersen  ทำให้เกิดการใช้งานแบบที่สมบูรณ์แบบและในเวลาเพียง 2 ปีเท่านั้นเว็บก็เป็นที่รู้จักและนิยมกันแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน

        2.3 การทำงานของเว็บ
        เว็บทำงานภายใต้รูปแบบผู้ใช้-ผู้ใช้บริการ(Client-Server Model)  โดยมีเครื่องให้บริการเว็บด้วย web Server เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อกับอินเทอร์เน็ตมีโปรแกรม web Server ทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์นี้ ในขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้จะมีโปรแกรมเว็บไคลแอนต์(Web client) สำหรับใช้ในการ เรียกเอกสารจากเครื่อง Server ตามที่อยู่ ที่ผู้ชายต้องการเครื่อง web Server จึงมีหน้าที่ให้บริการเอกสารต่างๆแก่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆโปรโตคอลที่เว็บไคลแอนต์ และเว็บเซิร์ฟเวอร์ใช้สื่อสาร คือHTTPทุกเว็บไคลแอนต์ และเว็บเซิร์ฟเวอร์จะต้องสื่อถึงกันด้วย http เพื่อที่จะสามารถส่งและรับเอกสารไอเปอร์เท็กซ์และไฮเปอร์มีเดียได้  เหตุนี้จึงมักเรียก web Server ว่า http Server
       โปรแกรม web client ซึ่งเป็นที่รู้จักและเป็นที่คุ้นเคยกันในยุคเว็บเริ่มต้นคือโปรแกรม MOSAIC   สามารถเรียกเอกสารไฮเปอร์เท็กซ์ในลักษณะของการแสดงข้อมูลที่เป็นภาพได้ นอกเหนือจากข้อมูลที่เป็นข้อความแล้ว ทั้งนี้เดิมทีนั้นมีบราวเซอร์ที่เรียกแสดงได้เพียงข้อความเท่านั้นคือโปรแกรมบราวเซอร์ ที่ชื่อว่าลิงซ์(Lynx)


       2.4 เว็บเพจ
       หน้าของเอกสารไฮเปอร์เท็กซ์แต่ละหน้าเรียกว่าเว็บเพจ (Web page)  เว็บเพจเป็นแฟ้มที่เปิดดูได้ด้วยโปรแกรมเว็บบราวเซอร์เป็นแหล่งที่สามารถเชื่อมโยงไปยังบริการต่างๆในอินเทอร์เน็ต ผ่านส่วนที่เป็นไฮเปอร์ลิงค์เช่น การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลการค้นหาข้อมูลการอ่านข่าวการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
        แหล่งที่อยู่ของเว็บเพจเรียกว่าเว็บไซต์(Web site)  แต่ละเว็บไซต์จะประกอบด้วยเว็บเพจตั้งแต่ 2-3 หน้าขึ้นไปหน้าแรกของเว็บไซต์เรียกว่าโฮมเพจส่วนหน้าอื่นๆเรียกว่าเพจโฮมเพจจึงเป็นเสมือนหน้าบ้านของข้อมูลและสารสนเทศที่อยู่ในรูปแบบของเอกสารไฮเปอร์เท็กซ์นอกจากนี้หน้าแรกที่ปรากฏเมื่อเลือกใช้โปรแกรม web browser ก็เรียกว่าหน้าโฮมเพจเช่นกันซึ่งเป็นการกำหนดโดยผู้ใช้ Web Browser นั้น
ที่อยู่ (address)  ของเว็บไซต์และเว็บเพจได้มีการกำหนดขึ้นเป็นสากลเพื่อบ่งบอกว่าเว็บเพจนั้นอยู่ที่ใดเรียกกันโดยย่อว่า URL (Uniform Resource locator)
        URL  ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนส่วนที่ 1 คือโปรโตคอลส่วนที่ 2 คือชื่อเครื่องให้บริการแม่ข่ายและส่วนที่ 3 คือเส้นทางที่บอกที่อยู่ของเอกสารในเครื่องให้บริการนั้น



 ตารางที่ 3.1 แสดงตัวอย่างของ URL และผลของการใส่ URL ในช่องใส่ที่อยู่


        โปรแกรม web browser สามารถเรียกหาที่อยู่ของเครื่อง web Server จากระบบปริเฉทชื่อ Domain Name System หรือ DNS  ระบบการะเกดชื่อเป็นชื่อที่อ้างถึงคอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยระบบนี้เขตชื่อใช้แทนที่อยู่แบบ IP  (Internet Protocol Address)  ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุดเช่น 158.108.2.71  ชุดตัวเลขเช่นนี้ยากแก่การจดจำจึงมีวิธีการตั้งชื่อให้จำและใช้งานได้ง่ายระบบปฏิเสธชื่อได้รับการกำหนดเป็นมาตรฐานโดยแบ่งเป็นลำดับขั้นตามสภาพภูมิศาสตร์ออกเป็นประเภทประเภทขององค์กรและชื่อองค์กรอาทิเช่น web Server World ที่มีชื่อว่า www.ku.ac.th จะมีบริการของชื่อดังนี้ th แทนประเทศไทยac  แทนประเภทองค์กรku เป็นชื่อองค์กรและ www ชื่อเครื่อง Server ทั้งนี้คำที่ใช้แทนกลุ่มประเภทขององค์กร  จะมีแตกต่างกันไปสำหรับประเทศสหรัฐอเมริกาจะใช้คำต่อไปนี้เพื่อแทนกลุ่มขององค์กรต่างๆ ดังนี้

                    com     หมายถึง      กลุ่มองค์กรการค้า (commercial)
                    edu      หมายถึง      กลุ่มองค์กรการศึกษา (educational)
                    gov      หมายถึง      กลุ่มองค์กรรัฐบาล(governmental)
                    mit       หมายถึง      กลุ่มองค์กรทหาร (military)
                    net       หมายถึง      กลุ่มองค์กรบริหารเครือข่าย (network server)

       ประเทศสหรัฐอเมริกาแต่ละชื่อประเทศไว้ในฐานที่เข้าใจ เช่น www.orst.edu  จะไม่มี .us ต่อท้ายสำหรับประเทศอื่นจะใช้ชื่อประเทศเป็นชื่อชุดสุดท้าย เช่น

                   au      แทน      ประเทศออสเตรเลีย
                    jp     แทน       ประเทศญี่ปุ่น
                   uk     แทน       ประเทศอังกฤษ
                   hk     แทน       ประเทศฮ่องกง
                   th      แทน       ประเทศไทย
                   fr      แทน       ประเทศฝรั่งเศส
                   sg     แทน       ประเทศสิงคโปร์

       ส่วนชุดที่แสดงกลุ่มขององค์กรในประเทศไทยใช้คำต่อไปนี้ เช่น

                  go       หมายถึง        หน่วยงานของรัฐบาล(governmental)
                  ac       หมายถึง        สถาบันการศึกษา(academic)
                  co       หมายถึง        องค์กรธุรกิจ (commercial)
                  or       หมายถึง        องค์กรอื่นๆเช่นรัฐวิสหกิจ (organizations)

        2.5 โปรแกรมเว็บบราวเซอร์
        มีส่วนประกอบของหน้าจอคล้ายคลึงกับโปรแกรมบน Windows อื่นๆคือมีส่วนที่เป็นแถบชื่อโปรแกรมแถบเมนูและแถบเครื่องมือโดยที่แถบเครื่องมือของเว็บบราวเซอร์จะมีปุ่มสำหรับคลิกเพื่อการเดินหน้าถอยหลังเพื่อไปยังเว็บเพจที่ได้คลิกเลือกดูมาแล้วมีปุ่มคลิกกลับหน้า Home Page ที่กำหนดไว้ในโปรแกรมเว็บบราวเซอร์นั้นปุ่มสำหรับการเรียกดูเอกสารที่จัดเก็บไว้และผู้อื่นๆเพื่อการใช้บริการบนเว็บเช่นไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์และการค้นหาข้อมูล เป็นต้น
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หน้าจอของโปรแกรม internet explorer

 ภาพที่ 2.3 แสดงหน้าจอของโปรแกรม internet explorer


        ส่วนสำคัญต่างๆของโปรแกรมเว็บบราวเซอร์แสดงในภาพที่ 2.3 ดังนี้
        หมายเลข 1 คือปุ่ม Back  และปุ่ม Forward เมื่อคลิกปุ่Back  จะกลับไปยังเว็บเพจหน้าที่ผ่านมาแล้วเมื่อคลิกปุ่ม Forward จะไปยังเว็บเพจหน้าถัดไปจากที่ได้ดูอยู่ในขณะนั้น
        หมายเลข 2 คือปุ่ม Refresh  เมื่อคลิกปุ่มนี้จะทำให้เว็บเพจหน้านั้นแสดงผลเป็นปัจจุบันปุ่มนี้จะเป็นประโยชน์เมื่อการแสดงผลยังเป็นข้อมูลเก่าอยู่หรือภาพกราฟฟิกแสดงผลไม่สมบูรณ์
        หมายเลข 3 คือปุ่ม Home  เมื่อคลิกปุ่มนี้จะทำให้กลับไปยังหน้าโฮมเพจหรือหน้าแรกที่เราเห็นเมื่อเปิดโปรแกรมเว็บบราวเซอร์
        หมายเลข 4 คือปุ่ม search กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ใช้ค้นหาข้อมูลสามารถเลือกบริการค้นหาข้อมูลด้วยโปรแกรมค้นหาที่ต้องการ
        หมายเลข 5 คือปุ่ม Favorites  เป็นปุ่มแสดงแถบรายการเพื่อให้เรียกเก็บแหล่งเว็บไซต์หรือเลือกแหล่งเว็บไซต์จากที่เก็บไว้นั้นทำให้สะดวกต่อการไปยังเว็บไซต์หรือเอกสารที่ต้องการไปหรือเรียกบ่อยๆ
        หมายเลข 6 เป็นแถบสำหรับใส่ที่อยู่มีช่องให้พิมพ์ที่อยู่ของเว็บไซต์หรือ URL หรือเส้นทางที่เอกสารนั้นอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น
 หมายเลข 7 แสดงแถบสถานะเมื่อกำลังมีการถ่ายโอนเว็บเพจให้สังเกตที่แถบล่างซ้ายนี้
       2.6 มัลติมีเดียบนเว็บ
       การสร้างมัลติมีเดียบนเว็บได้ขยายขอบข่ายจากการใช้ภาษา html มาใช้เทคโนโลยีบนเว็บเช่นเทคโนโลยี Shockwave และเทคโนโลยี Streaming ตลอดจนการพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานกับเว็บเช่นภาษาวาจาและภาษาจาวาสคริปต์ทำให้การแสดงผลมัลติมีเดียบนหน้าเว็บเพจในระบบเครือข่ายเป็นไปได้เหมือนกับมัลติมีเดียที่เล่นจากแผ่นซีดีโดยตรงและโปรแกรมอ่านเอกสารไฮเปอร์เท็กซ์ก็ได้รับการพัฒนาให้ทำงานได้เกินขีดความสามารถที่มีอยู่เดิมในด้านมัลติมีเดียทำให้สามารถแสดงผลมัลติมีเดียในรูป ของมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการแสดงผลในด้านเสียงและภาพวีดิทัศน์บนเว็บได้อย่างมีประสิทธิภาพดังเช่นในเว็บของ exploreatcience.com ที่นำเสนอกิจกรรมการเรียนวิทยาศาสตร์ด้วยมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์



รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

 ภาพที่  2.5 มัลติมีเดียวิดีโอ

       2.7 เทคโนโลยีมัลติมีเดียบนเว็บ
       2.7.1 เทคโนโลยี Shockwave
        สนับสนุนการแสดงเสียงภาพเคลื่อนไหวภาพวีดิทัศน์และกระบวนการที่ผู้ใช้มีปฏิสัมพันธ์โดยการคลิกเมาส์เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้แฟ้มมัลติมีเดียและแฟ้มมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์แสดงผลบนเว็บได้พัฒนาโดยบริษัท Macromedia  เทคโนโลยีนี้ใช้วิธีการทำให้แฟ้มมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์แยกกระจายออกเป็นแฟ้มขนาดเล็กหลายแฟ้มด้วยโปรแกรมที่ทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะเพื่อทำให้การขนส่งข้อมูลเป็นไปได้อย่างรวดเร็วแฟ้มที่เกิดขึ้นจากการกระจายนี้จะมีแฟ้มข้อมูลแฟ้มหนึ่งที่นำไปแทรกไว้ในคำสั่งของภาษา HTML  การ เลือกดูแฟ้มเหล่านี้จะต้องมีการนำโปรแกรมสำหรับการแสดงผลหรือ Shockwave Player ติดตั้งเข้ากับโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ผู้ใช้จึงจะสามารถดูการแสดงผลของแฟ้มมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์เหล่านี้ได้
         2.7.2 เทคโนโลยี Streaming
        เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้มองเห็นและได้ยินข้อมูลมัลติมีเดียบนเว็บในทันทีที่เริ่มมีการถ่ายโอนมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้โดยไม่ต้องรอให้มีการถ่ายโอนแฟ้มนั้นเสร็จพัฒนาโดยบริษัท  RealNetworks
 เทคโนโลยี Streaming จะทำให้ผู้ฟังได้ยินเสียงและดูภาพวีดิทัศน์ตอนสั้น (video clips) โดยไม่ไปรบกวนพื้นที่ของฮาร์ดดิสก์เสียงและภาพวีดิทัศน์จะแสดงผลในขณะที่มีการส่งผ่านสื่อตัวกลางที่อาจเป็นสายโทรศัพท์สายเคเบิลทีวีและสายที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
 การสร้างมัลติมีเดียด้วยเทคโนโลยี Streaming มีหลักการดังนี้คือน้ำเสียงหรือภาพวีดิทัศน์ที่บันทึกมาแปลง (encoder)  มาถึงไหนแล้วอะให้เป็นข้อมูล ดิจิทัลเรียกข้อมูลเสียงและวีดีทัศน์ดิจิทัลนี้ว่า RealAudio  และ RealVideo  ตามลำดับและเรียกโดยรวมว่า  RealMedia
RealAudio และ RealVideo  จัดเป็นสื่อ Streaming โปรแกรมที่นิยมใช้ในการสร้างสื่อ Streaming ได้แก่โปรแกรม QuickTime โปรแกรม  RealMedia โปรแกรม Windows Media  นอกจากนี้อาจใช้วิธีอื่นคือใช้โปรแกรมในการแก้ไขเสียงเช่น CoolEdit96  เพื่อการเปลี่ยนแฟ้มที่มีส่วนขยายเว็บให้เป็นReal Media หรือสื่อ Streaming
        ในการแสดงผล Streaming จะต้องติดตั้งโปรแกรมแสดงผลเข้ากับโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ได้แก่โปรแกรม QuickTime Player โปรแกรม  RealPlayer  และโปรแกรม Windows Media Player เป็นต้น
        โปรแกรม RealPlayer  เป็นโปรแกรมที่พัฒนาร่วมกันระหว่างบริษัท RealNetworks  และบริษัท Macromedia  ในปัจจุบันโปรแกรม RealPlayer เป็นโปรแกรมมาตรฐานสำหรับการแสดงข้อมูลเสียงและภาพวีดิทัศน์และภาพเคลื่อนไหวที่สร้างด้วยโปรแกรม Flash  อีกด้วยในลักษณะที่แสดงผลในทันทีเหมือนการเปิดจากเครื่องเล่นเทปวิทยุและวีดิทัศน์ไม่ต้องรอการถ่ายโอนแฟ้มลงเครื่องผู้ใช้ให้เสร็จก่อนส่วนโปรแกรม QuickTime Player ของบริษัท Apple  Computer ก็เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เว็บแสดงเสียงและภาพวีดิทัศน์ได้ในทันทีที่เข้าไปเว็บไซต์ที่มีข้อมูลดังกล่าว

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

 ภาพที่ 2.6 แสดงการแปลงข้อมูลเสียงและภาพวีดิทัศน์ให้เป็นสู่ Streaming




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ real player

 ภาพที่ 3.7 แสดงจอภาพของ Real Player สำหรับแสดงภาพวีดิทัศน์


         2.8 โปรแกรม Plug-Ins
         ในเว็บเพจที่มีส่วนของการแสดงมัลติมีเดียอาจจะต้องมีการติดตั้งโปรแกรมสำหรับการแสดงผลที่เรียกว่าโปรแกรม Plug-Ins ดังนั้นเมื่อเข้าไปยังเว็บเพจที่ต้องมีการใช้โปรแกรม Plug-Ins จะพบคำถามทันทีว่าต้องการโอนย้ายแฟ้มโปรแกรม Plug-Ins  สำหรับแสดงผลมัลติมีเดียนั้นหรือไม่ บางเว็บไซต์จะจัดทำปุ่มให้คลิกสำหรับโอนย้ายแฟ้มโปรแกรม Plug-Ins มาติดตั้งสำหรับการแสดงผลนั้นโปรแกรม Plug-Ins มักจะเป็นโปรแกรมขนาดเล็กที่ใช้เวลาในการโอนย้ายแฟ้มไม่นานนัก
        โปรแกรม Plug-Ins ที่เป็นที่นิยมและควรมีติดตั้งไว้ใช้งานมีดังนี้
        โปรแกรม Shockwave Player และโปรแกรม Flash Player Macromedia  โปรแกรมทั้งสองนี้จะทำให้คอมพิวเตอร์แสดงผลภาพเคลื่อนไหวที่มีปฏิสัมพันธ์
        โปรแกรม RealPlayer เป็นโปรแกรมที่ทำให้คอมพิวเตอร์แสดงผลเหมือนเป็นวิทยุและทีวีทำให้รับฟังเสียงวิทยุและรับชมทีวีที่มีการกระจายเสียงและภาพผ่านเว็บรวมทั้งแฟ้มเสียงและแฟ้มวีดีทัศน์ดิจิทัลบางรูปแบบ
        โปรแกรม quicktime เป็นโปรแกรมการแสดงภาพวีดิทัศน์ที่เป็นตอนสั้นๆ
        มัลติมีเดียบนเว็บทำให้เว็บมีบทบาทสำคัญในการให้การศึกษาและการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษาในระบบเปิดและกระจายจากส่วนกลางทำให้มีการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงชีวิตการเรียนในห้องเรียนกับโลกภายนอกผู้เรียนมีบทบาทเป็นผู้แสวงหาเดินดูกันรู้จักเลือกบริโภคข้อมูลเพื่อการเสริมเติมแต่งความรู้เกิดการศึกษาตามความต้องการ (Education on Demand)


บรรนาณุกรม

1.หนังสือเทคโนโลยีสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์ศึกษา
2.https://goo.gl/images/Ef7fxS
3.https://goo.gl/images/QrtMc9
4.https://goo.gl/images/cCr9qf
5.https://goo.gl/images/H265Tx
6.https://goo.gl/images/yeooki
7.https://goo.gl/images/y3mz1W
8.https://goo.gl/images/kH8PTq
9.บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์.
เทคโนโลยีสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์ศึกษา/ บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์-- กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร,์ 2546.

ความคิดเห็น